การบันทึกครั้งที่ 8
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- การเรียนการสอนในวันนี้มีรุ่นพี่นักศึกษาปี 5 มาเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน
- ก่อนเริ่มการเรียนการสอนนั้นรุ่นพี่ให้นักศึกษาในชั้นเรียนทำกิจกรรมก่อนเล็กน้อยคือเดินเป็นวงกลมร้านเพลงเล่นจับคู่
- กิจกรรมวันนี้คือ "กิจกรรม cooking" พี่ๆได้อธิบายถึงอุปกรณ์ ส่วนผสมและวิธีการทำของขนมปังทอดใส้กล้วย
- จากนั้นพี่ๆได้สาธิตวิธีในการทำขนมปังทอดใส้กล้วย โดยมีตัวแทนนักศึกษาออกไปช่วยทำหน้าชั้นเรียนด้วย
- นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม นั่งประจำจุดของกลุ่มตัวเอง เมื่อทำของจุดตนเองเสร็จแล้วให้ย้ายไปยังจุดอื่นๆเพื่อทำในขั้นตอนต่อไป
จุดที่ 1 เป็นจุดสำหรับการตัดขอบขนมปังและรีดขนมปังให้เรียบ
จุดที่ 2 ตัดกระดาษสำหรับรองจานให้เป็นรูปวงกลม
จุดที่ 3 หั่นกล้วยเป็นชิ้นๆ แล้วใส่เข้าไปข้างในขนมปังปิดขอบให้เรียบร้อย
จุดที่ 4 นำขนมปังมาชุปใข่
จุดที่ 5 ทอดขนมปัง จากนั้นก็หั่นเป็นชิ้น จัดใส่จานให้สวยงาม โลยน้ำตาลใส่นมข้นหวานตามใจชอบ
- กิจกรรม Cooking สามารถนำมาบูรณาการได้กับวิชาต่างๆ ดังนี้
วิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องของ การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ รูปร่างรูปทรง พื่นที่ ขนาด การนับจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
วิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของ การคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การสื่อสาร
การนำไปใช้
การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
- คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Cooking แปลว่า การปรุงอาหาร
2. Banana แปลว่า กล้วย
2. Banana แปลว่า กล้วย
3. Bread แปลว่า ขนมปัง
4. Sugar แปลว่า น้ำตาล
4. Sugar แปลว่า น้ำตาล
5. Fried แปลว่า ทอด
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
- นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม
- นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์
- ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น