วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 25  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ Mind Mapping ที่ได้แก้ไขแล้วของกลุ่มตนเองหน้าชั้นเรียนว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไรและอาจารย์ยังบอกถึงข้อบกพร่องที่ยังต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ให้แก่นักศึกษาแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแก้ไขเนื้อหาให้ดีมากยิ่งขึ้น

กลุ่มที่ 1  (กลุ่มดิฉัน)  "ต้นไม้"


1. ประเภท 
                         สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก จากนั้นก็หาชื่อต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งสามารถใช้เกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภท คือ รากแก้วเป็นไม้ยืนต้น รากฝอยเป็นไม้ล้มลุก แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนเกณฑ์ในการแยกประเภทลงใน Mind Mapping เพราะเกณฑ์เป็นสิ่งที่ตั้งไว้เพื่อจำแนกประเภทเท่านั้น
2. ลักษณะ 
                        สามารถแยกได้เป็น 6 หัวข้อ คือ  ส่วนประกอบ สี ขนาด ผิว กลิ่นและรส จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ 
3. ปัจจัย 
                        สิ่งมีชีวิต สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
4. ประโยชน์  
                        สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ต่อตัวเราและเชิงพาณิชย์ จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
5. ข้อควรระวัง 
                        สามารถแยกได้เป็นหัวข้อต่อเราและอื่นๆ
* (สามารถเพิ่มเติมข้อมูลของแต่ละหัวข้อได้อีก)

กลุ่มที่ 2  "ผลไม้"


กลุ่มที่ 3  "ปลา"


กลุ่มที่ 4  "ยานพาหนะ"


กลุ่มที่ 5  "ไข่"


กลุ่มที่ 6  "อากาศรอบตัวฉัน"


กลุ่มที่ 7  "ดอกไม้"


                          - อาจารย์พูดถึงหัวข้อของแต่ละกลุ่มที่ได้นำเสนอไปว่าแต่ละหัวข้อนั้นมีอยู่ในสาระของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย อาจารย์ก็ได้อธิบายเชื่อมโยงหัวข้อของแต่ละกลุ่มว่ามีมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัยอะไรบ้างและมีตัวชี้วัดอย่างไร

การเชื่อยมโยงหัวข้อ"ต้นไม้"กับสาระของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัย
- การสำรวจลักษณะของต้นไม้
- บอกหรืออธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของต้นไม้
- ศึกษาการดำรงชีวิตของต้นไม้
- เปรียบเทียบลักษณะของต้นไม้
- สำรวจสิ่งแวดล้อมบริเวณต้นไม้
ฯลฯ
ตัวชี้วัด
- สามารถบอกชื่อและหน้าที่ของต้นไม้ได้
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้
- ลงความเห็นระหว่างความเหมือนหรือความต่างของต้นไม้ได้
ฯลฯ





 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.     Category          แปลว่า    ประเภท
2.     Nature              แปลว่า    ลักษณะ
3.     Factor              แปลว่า    ปัจจัย
4.     Benefit             แปลว่า    ประโยชน์
5.     Warning           แปลว่า    ปลา

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น