การบันทึกครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- อาจารย์ตรวจดูของเล่นของแต่ละกลุ่มที่อาจารย์ให้ไปแก้ไขเพิ่มเติมมา
- อาจารย์พูดถึงการเรียนรู้ของเด็กว่าก่อนที่จะจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ก่อนการกำหนดหน่วยการเรียนรู้นั้น ความรู้มาจากการที่เราเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวหรือสิ่งที่เด็กกำลังให้ความสนใจจึงมีการนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดเป็นหน่วยในการเรียนรู้ และพูดถึงสาระทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ
- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่วยจากสาระ ดังนี้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัว
และแยกออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1. ประเภท
2. ลักษณะ
3. ปัจจัย(ในการดำรงชีวิต)
4. ประโยชน์
5. ข้อควรระวัง
- หน่วยที่กลุ่มของดิฉันเลือกคือ ต้นไม้ เมื่อได้หน่วยแล้วกลุ่มของดิฉันก็ช่วยกันหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ตามหัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดมาทั้ง 5 หัวข้อ จากนั้นก็ทำลงในกระดาษชาร์ทที่อาจารย์ได้แจกมาให้ พร้อมทั้งตกแต่งและระบายสี
ฉบับร่างก่อนการเขียนลงกระดาษชาร์ท
ผลงานของกลุ่มดิฉัน
ผลงานของเพื่อนๆในห้องเรียน
- อาจารย์ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มในการเขียนหัวข้อย่อยของทั้ง 5 หัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดมาว่าควรจะมีเนื้อหาแบบไหนและควรจะเพิ่มเติ่มหัวข้ออะไรบ้าง ถึงจะสมบูรณ์ที่สุด
คำแนะนำของกลุ่มดิฉัน คือ ต้นไม้ มีหัวข้อดังนี้
1. ประเภท
สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก จากนั้นก็หาชื่อต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งสามารถใช้เกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภท คือ รากแก้วเป็นไม้ยืนต้น รากฝอยเป็นไม้ล้มลุก
2. ลักษณะ
สามารถแยกได้เป็น 5 หัวข้อ คือ สี ส่วนประกอบ ขนาด กลิ่นและรส จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
3. ปัจจัย
สิ่งมีชีวิต สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
4. ประโยชน์
สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ต่อตัวเราและเชิงพาณิชย์ จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
5. ข้อควรระวัง
สามารถแยกได้เป็นหัวข้อต่อเราและอื่นๆ
- คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Tree แปลว่า ต้นไม้
2. Flower แปลว่า ดอกไม้
2. Flower แปลว่า ดอกไม้
3. Egg แปลว่า ไข่
4. Fruit แปลว่า ผลไม้
4. Fruit แปลว่า ผลไม้
5. Fish แปลว่า ปลา
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
- นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม
- นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์
- ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น