วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์ให้นักศึกษาคัดไทย  ก - ฮ


                    - อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยกันถึงคุณสมบัติของอากาศว่า อากาศมีตัวตนต้องการพื้นที่และอากาศก็มีน้ำหนัก จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ทำของเล่นเกี่ยวกับอากาศนำเสนอถึงหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของของเล่นชิ้นนั้นๆ


                    - จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่เหลือนำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ของตน
ดิฉันนำเสนอของเล่น "เหวี่ยงมหาสนุก"


เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของตนเอง 


ของเล่นทั้งหมด


                       - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปโครงร่างจากมือของตนเองและลากเส้นโค้งเฉพาะบริเวณข้างในของมือโดยใช้สี 2 สีในการลากเส้น ภาพที่ออกมาเราจะเห็นว่าบริเวณมือนูนขึ้นมาจากเดิม



                   - อาจารย์ให้นักศึกษาดูการพุ่งของน้ำพุ ในเรื่องของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำหากยิ่งต่ำลงนำพุจะยิ่งพุ่งสูงขึ้น



                   - อาจารย์ให้นักศึกษาดูการเทน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้วยกด้านหนึ่งสูงขึ้น เราจะเห็นได้ว่าน้ำก็จะไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ



                   - อาจารย์แจกกระดาษ A4 1 แผ่น พับเป็น 4 ส่วนและแบ่งให้นักศึกษาคนละ 1 ส่วน จากนั้นให้นักศึกษาพับอีก 2 ครั้ง ตัดเป็นรูปหัวใจและคลี่ออก ระบายสีลงบนวงกลมตรงกลาง พับกลีบเข้าด้านใน จากนั้นนำไปวางไว้บนน้ำ กลีบของดอกไม้จะค่อยๆบานออกมาทีละเล็กทีละน้อยจนบานเต็มที่ ซึ่งของเพื่อนบางคนก็จะบานช้าบานเร็วแตกต่างกันออกไป







                  - แต่ละกลุ่มนำเสนอของเล่นที่กลุ่มตนได้ประดิษฐ์มา
กลุ่มที่ 1 กล่องบ้านผีสิง
               โดยให้มองผ่านรูที่อยู่ด้านข้างของกล่อง ภายในกล่องจะมีตัวการ์ตูนต่างๆและไฟฉาย ซึ่งแสงจากไฟฉายจะไปกระทบแผ่นซีดีและสะท้อนเข้าตาเราจึงทำให้เราสามารถมองเห็นภายในกล่องได้


กลุ่มที่ 2 กล้องเพอริสโคป 
               โดยเราสามารถมองกล้องจากด้านล่าง เราจะเห็นภายนอกได้ผ่านกระจกที่อยู่ข้างใน 2 บานที่ช่วยสะท้อน


กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อนภาพ
               เมื่อมองผ่านรูด้านบนของกล้อง เราจะเห็นภาพข้างในมีหลายๆภาพและสามารถขยับได้จากการที่เราหมุนกล้อง

กลุ่มที่ 4 เบ็ดตกปลา 
               แม่หล็กขั้วเหมือนกันจะผลักกัน แม่เหล็กขั้วต่างจะดูดกัน


กลุ่มที่ 5 ไฟฉายมหาสนุก
               เมื่อนำไฟฉายไปส่องผ่านสีต่างๆแสงก็จะออกมาเป็นสีนั้นๆ


กลุ่มที่ 6 ลานลูกกลิ้ง
               เมื่อวางลูกแก้วจากด้านบนลูกแก้วจะกลิ้งลงมาสู่ด้านล่าง


ผลงาน "ภาพขยับ" ของดิฉัน



ผลงาน "ภาพหมุน" ของดิฉัน



 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Magnet      แปลว่า   แม่เหล็ก    
2.  Anode        แปลว่า   ขั้วบวก   
3. Cathode     แปลว่า    ขั้วลบ 
4. Push           แปลว่า    ผลัก
5. Light            แปลว่า   แสง  

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น