วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
          - เมื่อนักศึกษาเข้าห้องเรียนอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนคัดพยัญชนะไทย
                           
                          - อาจารย์ทบทวนเรื่อง"รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย"
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
               พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
อย่างมีความสุขกิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์
กับครอบครัวและชุมชน
                          

                        - อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ทั้งหมด 6 กลุ่มเพื่อประดิษฐ์สิ่งของที่สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ"อากาศ"  โดยวัสดุ/อุปกรณ์ที่อาจารย์แจกให้ก็คือ กระดาษแข็ง 1 แผ่นและคลิปหนีบกระดาษ 1 อัน




กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์"รถแข่ง" 
                                       โดยที่คันที่ 1 จะเป็นรถแข่งที่พับจากกระดาษธรรมดา , คันที่ 2 จะเป็นรถแข่งที่พับจากกระดาษพร้อมทั้งหนีบคลิปไว้ด้วย เพื่อทดลองว่ารถที่ไม่มีคลิปหนีบกระดาษเมื่อเราเป่าลมรถจะพุ่งไปข้างหน้าอย่างไม่มีทิศทางต่างจากรถแข่งที่หนีบคลิปไว้ด้วยที่พุ่งไปอย่างมีทิศทางและเที่ยงตรงกว่า

กลุ่มที่ 2 "กระดาษและคลิปหนีบกระดาษ"  
                                       ทดลองการปล่อยกระดาษและคลิปหนีบกระดาษลงมาบนพื้นพร้อมกันเพื่อเสนอว่าอากาศจะสามารถพยุงกระดาษไว้จึงทำให้กระดาษตกลงบนพื้นช้ากว่าคลิปหนีบกระดาษที่มีน้ำหนักมากกว่าและไม่มีพื้นที่ให้อากาศพยุงไว้

 กลุ่มที่ 3 ประดิษฐ์"สื่อภาพฤดูอากาศต่างๆ" 
                                       เพื่อเสนอให้เด็กเห็นภาพในแต่ละฤดูว่าจะมีอากาศเป็นอย่างไรและมีอากาศตรงช้ามเป็นอย่างไรกันบ้างในแต่ละฤดู

กลุ่มที่ 4 ประดิษฐ์"ลูกยางกระดาษ" 
                                       ทดลองโดยการปล่อยลูกยางกระดาษลงบนพื้นจะพบว่าลูกยาง
ตกลงบนพื้นช้าเนื่องจากลูกยางมีใบพัดที่มีความกว้างจึงมีพื้นที่ให้อากาศสามารถพยุงไว้ได้

กลุ่มที่ 5 ประดิษฐ์"นกกระดาษ" 
                                       ทดลองว่าเมื่อเรานำกระดาษมาพัดจะเกิดลมจึงส่งผลให้นกกระดาษขยับตัวได้แต่ถ้าหากว่านำหนังสื่อมากั้นอากาศก็จะไม่สามารถพัดไปโดนนกได้จึงทำให้นกไม่สามารถขยับได้

กลุ่มที่ 6 ประดิษฐ์"กังหันลม" (กลุ่มดิฉัน)
                                       เพื่อทดลองว่าเมื่อมีอากาศเคลื่อนที่มากระทบกังหันก็จะทำให้กังหันสามารถหมุนได้ เนื่องจากกังหันมีใบพัดซึ่งมีพื้นที่ที่สามารถทำให้อากาศมากระทบได้


คำถาม อากาศเคลื่อนที่ได้อย่างไร?
ตอบ  การเคลื่อที่ของอากาศเกิดจากความกดอากาศที่แตกต่างกันทำให้อากาศเคลื่อนที่ โดยอากาศจะเคลื่อนที่จากความกดอาศสูงมาสู่ความกดอากาศต่ำ
- ความกดอากาศสูง ก็คือ มวลอากาศเย็น ซึ้งอากาศเย็นจะลอยอยู่ต่ำเพราะความหนาแน่นสูง 
- ความกดอากาศต่ำ คือมวลอากาศร้อน ซึ้งอากาศจะมีอุณภูมิสูงความหนาแน่นต่ำ จึงลอยขึ้นสู่ที่สูง
  -  คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. sequence   แปลว่า  การจัดช่วงลำดับ
2. integration  แปลว่า  บูรณาการ
3. interaction  แปลว่า  ปฏิสัมพันธ์
4. knowledge  แปลว่า  ความรู้ที่เกิดจากความจำ
5. application  แปลว่า  การประยุกต์

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น