วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 22  พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตนเองตามคลิปวิดีโอการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ให้โจทย์ คือ ของเล่นที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์นั้นสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้อะไรได้บ้างและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร กลุ่มดิฉันตัวอย่างเช่น ตุ๊กตาหน้าปั๊มเติมน้ำมันที่ใช้คุณสมบัติของลม


                         - อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มบอกถึงขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนที่จะสอนร่วมกับการใช้วิดีโอการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์


ขั้นตอน มีดังนี้
1.ครูถามอุปกรณ์เด็กว่ามีอะไรบ้าง
2.ตั้งประเด็นปัญหา (เช่น เราจะทำอย่างไรให้คนให้ความสนใจ เราจึงประดิษฐ์ตุ๊กตาลม)
3.เมื่อเด็กช่วยกันตอบคำถามจากที่ครูตั้งประเด็นปัญหา (ซึ่งในส่วนนี้ครูควรรับฟังคำตอบของเด็กไม่ว่าจะถูกหรือผิด เพื่อให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง)
4.เข้าสู่สาระที่เตรียมมานั่นก็คือคลิปวิดีโอการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ เมื่อดูคลิปวิดีโอเสร็จครูก็ทบทวนอุปกรณ์และขั้นตอนในการประดิษฐ์
5.ครูสาธิตวิธีการประดิษฐ์และครูให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์(อาจแบ่งกลุ่มของเด็กก่อนให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์)
6.ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากของเล่นที่ประดิษฐ์
7.ลองเล่นจากสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง อาจเป็นการแข่งขันหรือตั้งเกณฑ์ในการเล่น เช่น เกณฑ์ของกลุ่มดิฉัน "หลอดมหัศจรรย์" คือ เมื่อครูนับ 1 ถึง 5 ถ้าของใครยังไม่ตกถือว่าผ่าน
8.สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์ว่าทำไมมันถึงลอยและแนะนำว่าตุ๊กตาล้มลุกหน้าปั๊มเติมน้ำมันก็ใช้หลักการเดียวกัน

 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.   Toy                            แปลว่า     ของเล่น
2.   Everyday life           แปลว่า     ชีวิตประจำวัน
3.   Artificial                    แปลว่า     ประดิษฐ์
4.   Demonstration        แปลว่า     สาธิต
5.   Past                          แปลว่า     ผ่าน


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น