วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 15  พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนตามวันที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย
กลุ่มที่ 1 สอนวันจันทร์ (หน่วยผลไม้)
ขั้นนำ
- อ่านคำคล้องจองผลไม้
- ถามว่าในคำคล้องจองมีผลไม้ชนิดใดบ้าง
- บันทึกผล Mind mapping
- ถามว่านอกจากคำคล้องจองมีผลไม้ชนิดใดบ้าง
บันทึกผล Mind mapping กลุ่มเดียวกับคำตอบแรกแต่เปลี่ยนสี


ขั้นสอน
- ครูนำผลไม้ใส่ตระกร้าเอาผ้าคลุมแล้วถามเด็กๆว่า "เด็กๆรู้ไหมข้างในตระกร้ามีอะไรเอ่ย?"
- หยิบผลไม้ให้เด็กดูแล้วนำมาวางไว้ด้านหน้า ระหว่างหยิบถามเด็กๆว่า"นี่คืออะไรคะ?"
ครูและเด็กๆนับจำนวนผลไม้ทั้งหมด ครูชม "เก่งมากค่ะเด็กๆปรบมือให้ตัวเอง"
- ครูหยิบองุ่นมา ครูถาม "เด็กๆรู้ไหมคะว่าองุ่นมีลักษณะอย่างไร?"
"องุ่นมีหลายๆลูกอยู่ในช่อเดียวกัน เรียกว่า ผลรวม"
- ครูถามเด็กว่า "เด็กๆคิดว่ามีผลไม้ชนิดใดเหมือนองุ่นไหมคะ?"
ให้เด็กออกมาหยิบ "เด็กๆคิดว่ายังมีอะไรที่เหมือนองุ่นอีกไหมคะ?"
"ผลไม้ที่เหลือมีลักษณะอย่างไร" "ดังนั้นผลไม้ที่เหลือเรียกว่ากลุ่มผลเดี่ยวนะคะ"
- ขั้นอนุรักษ์ : เด็กสามารถบอกได้ว่าจำนวนไหนมากกว่ากัน คือการที่เด็กสามารถใช้เหตุและผลได้ครูถามว่า "กลุ่มไหนมากกว่ากัน" "เราจะมาพิสูจน์กันนะคะว่ากลุ่มไหนมากกว่ากัน"ครูให้เด็กออกมานับจำนวนผลรวมและจำนวนผลเดี่ยว ทีละ 1 ผล "ผลไม้ที่เหลือคือผลไม้ที่มีมากกว่า"


ขั้นสรุป
- จากผลไม้ที่เราเรียนไปมีผลไม้ชนิดใดบ้างนะคะ "เด็กๆพูดตามคุณครูนะคะ"
(ครูนำเด็กๆอ่านจาก Mind mapping)


กลุ่มที่ 2 สอนวันอังคาร (หน่วยไข่)
ขั้นนำ
- ภาพตัดต่อรูปไข่ ครูให้เด็กๆช่วยกันต่อภาพ


ขั้นสอน
- ครูให้เด็กๆสังเกตลักษณะไข่เป็ดและไข่ไก่ ครูถามเด็กๆว่า "เด็กๆบอกครูสิคะว่านี่คือไข่อะไร มีสี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบและกลิ่น เป็นอย่างไร?"


ขั้นสรุป
- ทบทวนลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่
- เปรียบเทียบลักษณะของไข่เป็ดและไข่ไก่ ครูถามว่า "เด็กๆคิดว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีลักษณะเหมือนกันอย่างไรบ้าง?" "ไข่เป็ดและไข่ไก่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร?" 
- ครูทบทวนลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของไข่เป็ดและไข่ไก่



กลุ่มที่ 3 สอนวันพุธ (หน่วยต้นไม้)
ขั้นนำ
- อ่านคำคล้องจองต้นไม้ที่รัก
- ครูถาม "จากคำคล้องจองมีการดูแลให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างไรบ้าง?"
บันทึกผล Mind mapping
- นอกจากคำคล้องจอง "เด็กๆคิดว่ามีวิธีการดูแลต้นไม้ให้เจริญเติบโตอย่างไรอีกบ้าง?"
บันทึกผล Mind mapping กลุ่มเดียวกับคำตอบแรกแต่เปลี่ยนสี
- ทบทวนจาก  Mind mapping


ขั้นสอน
- ครูแนะนำอุปกรณ์
- ครูถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันคะ?"
- ครูสาธิต 
- ทบทวนขั้นสอนการปลูก "ถั่วงอก"
- แจกอุปกรณ์ให้เด็กๆ


ขั้นสรุป
- สรุปขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาต้นถั่วงอก



กลุ่มที่ 4 สอนวันพฤหัสบดี (หน่วยปลา)
ขั้นนำ
- ครูแนะนำวัตถุดิบ / อุปกรณ์ / วิธีการทำปลาชุปแป้งทอด
- ครูให้เด็กๆอ่านตาม


ขั้นสอน
- ครูสาธิต วิธีการทำปลาชุปแป้งทอด
- ครูขอตัวแทนเด็กๆออกไปทำปลาชุปแป้งทอด ที่ครูได้แบ่งไว้เป็นฐาน


ขั้นสรุป
- ครูสรุปขั้นตอนและวิธีการทำปลาชุปแป้งทอด


 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.    Bean sprouts           แปลว่า    ถั่วงอก
2.    Duck egg                 แปลว่า    ไข่เป็ด
3.    Equipment               แปลว่า    อุปกรณ์
4.    Method                     แปลว่า    วิธี
5.    Fried                         แปลว่า    ทอด


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น