วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 25  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ Mind Mapping ที่ได้แก้ไขแล้วของกลุ่มตนเองหน้าชั้นเรียนว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไรและอาจารย์ยังบอกถึงข้อบกพร่องที่ยังต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ให้แก่นักศึกษาแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแก้ไขเนื้อหาให้ดีมากยิ่งขึ้น

กลุ่มที่ 1  (กลุ่มดิฉัน)  "ต้นไม้"


1. ประเภท 
                         สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก จากนั้นก็หาชื่อต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งสามารถใช้เกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภท คือ รากแก้วเป็นไม้ยืนต้น รากฝอยเป็นไม้ล้มลุก แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนเกณฑ์ในการแยกประเภทลงใน Mind Mapping เพราะเกณฑ์เป็นสิ่งที่ตั้งไว้เพื่อจำแนกประเภทเท่านั้น
2. ลักษณะ 
                        สามารถแยกได้เป็น 6 หัวข้อ คือ  ส่วนประกอบ สี ขนาด ผิว กลิ่นและรส จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ 
3. ปัจจัย 
                        สิ่งมีชีวิต สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
4. ประโยชน์  
                        สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ต่อตัวเราและเชิงพาณิชย์ จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
5. ข้อควรระวัง 
                        สามารถแยกได้เป็นหัวข้อต่อเราและอื่นๆ
* (สามารถเพิ่มเติมข้อมูลของแต่ละหัวข้อได้อีก)

กลุ่มที่ 2  "ผลไม้"


กลุ่มที่ 3  "ปลา"


กลุ่มที่ 4  "ยานพาหนะ"


กลุ่มที่ 5  "ไข่"


กลุ่มที่ 6  "อากาศรอบตัวฉัน"


กลุ่มที่ 7  "ดอกไม้"


                          - อาจารย์พูดถึงหัวข้อของแต่ละกลุ่มที่ได้นำเสนอไปว่าแต่ละหัวข้อนั้นมีอยู่ในสาระของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย อาจารย์ก็ได้อธิบายเชื่อมโยงหัวข้อของแต่ละกลุ่มว่ามีมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัยอะไรบ้างและมีตัวชี้วัดอย่างไร

การเชื่อยมโยงหัวข้อ"ต้นไม้"กับสาระของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัย
- การสำรวจลักษณะของต้นไม้
- บอกหรืออธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของต้นไม้
- ศึกษาการดำรงชีวิตของต้นไม้
- เปรียบเทียบลักษณะของต้นไม้
- สำรวจสิ่งแวดล้อมบริเวณต้นไม้
ฯลฯ
ตัวชี้วัด
- สามารถบอกชื่อและหน้าที่ของต้นไม้ได้
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้
- ลงความเห็นระหว่างความเหมือนหรือความต่างของต้นไม้ได้
ฯลฯ





 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.     Category          แปลว่า    ประเภท
2.     Nature              แปลว่า    ลักษณะ
3.     Factor              แปลว่า    ปัจจัย
4.     Benefit             แปลว่า    ประโยชน์
5.     Warning           แปลว่า    ปลา

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 18  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ตรวจดูของเล่นของแต่ละกลุ่มที่อาจารย์ให้ไปแก้ไขเพิ่มเติมมา



                          - อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มๆละ 5 คน แจกกระดาษชาร์ท 1 แผ่น




                          - อาจารย์พูดถึงการเรียนรู้ของเด็กว่าก่อนที่จะจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ก่อนการกำหนดหน่วยการเรียนรู้นั้น ความรู้มาจากการที่เราเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวหรือสิ่งที่เด็กกำลังให้ความสนใจจึงมีการนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดเป็นหน่วยในการเรียนรู้ และพูดถึงสาระทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ



                     - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่วยจากสาระ ดังนี้ 
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน    
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่    
3. ธรรมชาติรอบตัว    
4. สิ่งต่างๆรอบตัว  
และแยกออกเป็น  5 หัวข้อ ดังนี้  
1. ประเภท   
2. ลักษณะ   
3. ปัจจัย(ในการดำรงชีวิต)   
4. ประโยชน์   
5. ข้อควรระวัง


                   - หน่วยที่กลุ่มของดิฉันเลือกคือ ต้นไม้  เมื่อได้หน่วยแล้วกลุ่มของดิฉันก็ช่วยกันหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ตามหัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดมาทั้ง 5 หัวข้อ จากนั้นก็ทำลงในกระดาษชาร์ทที่อาจารย์ได้แจกมาให้ พร้อมทั้งตกแต่งและระบายสี

ฉบับร่างก่อนการเขียนลงกระดาษชาร์ท




ผลงานของกลุ่มดิฉัน


ผลงานของเพื่อนๆในห้องเรียน







                         - อาจารย์ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มในการเขียนหัวข้อย่อยของทั้ง 5 หัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดมาว่าควรจะมีเนื้อหาแบบไหนและควรจะเพิ่มเติ่มหัวข้ออะไรบ้าง ถึงจะสมบูรณ์ที่สุด
                         คำแนะนำของกลุ่มดิฉัน คือ ต้นไม้   มีหัวข้อดังนี้
1. ประเภท 
                         สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก จากนั้นก็หาชื่อต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งสามารถใช้เกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภท คือ รากแก้วเป็นไม้ยืนต้น รากฝอยเป็นไม้ล้มลุก 
2. ลักษณะ 
                        สามารถแยกได้เป็น 5 หัวข้อ คือ สี ส่วนประกอบ ขนาด กลิ่นและรส จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
3. ปัจจัย 
                        สิ่งมีชีวิต สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
4. ประโยชน์  
                        สามารถแยกได้เป็น 2 หัวข้อ คือ ต่อตัวเราและเชิงพาณิชย์ จากนั้นก็หาข้อมูลของแต่ละหัวข้อ
5. ข้อควรระวัง 
                        สามารถแยกได้เป็นหัวข้อต่อเราและอื่นๆ


 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.    Tree           แปลว่า    ต้นไม้
2.    Flower       แปลว่า    ดอกไม้
3.    Egg            แปลว่า    ไข่
4.    Fruit           แปลว่า    ผลไม้
5.    Fish           แปลว่า    ปลา


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9
วันอังคาร ที่ 11  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น 


                          - อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนขั้นตอนการทำของเล่นของแต่ละคน โดยวาดกรอบและเขียนเป็นลำดับขั้นทีละขั้นตอน


                         - นำไปติดที่กระดานหน้าชั้นเรียน


                         - อาจารย์สรุปองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากกิจกรรมที่นักศึกษาได้ทำโดยเชื่อมโยงกับความรู้ในเรื่องของ STEM ว่ามีการคิดอย่างเป็นลำดับขั้นและมีการออกแบบ พร้อมทั้งดูขั้นตอนในการทำของเล่นของนักศึกษาและอธิบายถึงการใช้ถ้อยคำที่กระชับเข้าใจง่าย
                        - แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เลือกขั้นตอนในการทำของเล่นของสมาชิกในกลุ่มมา 1 คน 
ขั้นตอนการนำเสนอเพื่อไปสู่การสอนเด็ก
1. ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง สามารถนำมาทำอะไรได้บ้างและมีจำนวนเท่าไหร่
2. ขั้นตอนการทำของเล่น
3. ทำตามขั้นตอน
4. กระบวนการทดลอง (ตั้งประเด็นปัญหา สมมติฐาน สรุป)


                       - รวม 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน จำนวนสมาชิกทั้งหมด 8 คน จากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มเลือกขั้นตอนในการทำของเล่นของสมาชิกในกลุ่มมา 1 คน เพื่อจัดทำวีดีโอขั้นตอนในการประดิษฐ์ของเล่น ของเล่นที่กลุ่มดิฉันเลือก คือ หลอดเลี้ยงลูกบอล โดยมีเครื่องมือในการวัดคือนาฬิกาทราย แต่ละกลุ่มวางแผนแบ่งหน้าที่และเขียนลำดับขั้นตอนในการสอน


                      - แต่ละกลุ่มนำเสนอแนวการจัดทำวีดีโอขั้นตอนในการประดิษฐ์ของเล่นและลำดับขั้นตอนในการสอน
กลุ่มที่ 1 คัดดีดจากไม้ไอติม


กลุ่มที่ 2 ขวดน้ำส่งของ


กลุ่มที่ 3 หลอดเลี้ยงลูกบอล
คำแนะนำ คือ ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ ครูใช้คำถามว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบ้างคะ? เด็กๆคิดว่าถ้าเราจะทำให้สิ่งของลอยอยู่ในอากาศได้นานๆต้องทำอย่างไร? จากนั้นครูและเด็กๆหาดูจากอินเตอร์เน็ตว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้สิ่งของสามารถลอยได้ เพื่อนำไปสู่ หลอดเลี้ยงลูกบอล จากนั้นให้เด็กมาหยิบอุปกรณ์
ขั้นตอนในการสอน  
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง  
2. ครูให้เด็กๆสังเกตอุปกรณ์ 
3. ครูใช้คำถามว่า "เราจะทำอย่างไรให้วัตถุลอยอยู่ในอากาศได้นานๆ" จากนั้นครูนำไปสู่การประดิษฐ์โดยพูดว่า "งั้นเรามาทำหลอดเลี้ยงลูกบอลกันนะคะ"
4. ครูอธิบายขั้นตอนในการประดิษฐ์ของเล่น


กลุ่มที่ 4 รถพลังงานลม


 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Strum         แปลว่า    ดีด   
2.  Bottle         แปลว่า    ขวดน้ำ
3.  Tube          แปลว่า    หลอด 
4.  Energy      แปลว่า    พลังงาน
5.  Toy            แปลว่า    ของเล่น

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8
วันอังคาร ที่ 4  ตุลาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - การเรียนการสอนในวันนี้มีรุ่นพี่นักศึกษาปี 5 มาเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน


                        - ก่อนเริ่มการเรียนการสอนนั้นรุ่นพี่ให้นักศึกษาในชั้นเรียนทำกิจกรรมก่อนเล็กน้อยคือเดินเป็นวงกลมร้านเพลงเล่นจับคู่


                      - กิจกรรมวันนี้คือ "กิจกรรม cooking" พี่ๆได้อธิบายถึงอุปกรณ์ ส่วนผสมและวิธีการทำของขนมปังทอดใส้กล้วย


                     - จากนั้นพี่ๆได้สาธิตวิธีในการทำขนมปังทอดใส้กล้วย โดยมีตัวแทนนักศึกษาออกไปช่วยทำหน้าชั้นเรียนด้วย



                     - นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม นั่งประจำจุดของกลุ่มตัวเอง เมื่อทำของจุดตนเองเสร็จแล้วให้ย้ายไปยังจุดอื่นๆเพื่อทำในขั้นตอนต่อไป
จุดที่ 1 เป็นจุดสำหรับการตัดขอบขนมปังและรีดขนมปังให้เรียบ


จุดที่ 2 ตัดกระดาษสำหรับรองจานให้เป็นรูปวงกลม


จุดที่ 3 หั่นกล้วยเป็นชิ้นๆ แล้วใส่เข้าไปข้างในขนมปังปิดขอบให้เรียบร้อย


จุดที่ 4 นำขนมปังมาชุปใข่


จุดที่ 5 ทอดขนมปัง จากนั้นก็หั่นเป็นชิ้น จัดใส่จานให้สวยงาม โลยน้ำตาลใส่นมข้นหวานตามใจชอบ




                       - กิจกรรม Cooking สามารถนำมาบูรณาการได้กับวิชาต่างๆ   ดังนี้
 วิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องของ  การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ รูปร่างรูปทรง พื่นที่ ขนาด การนับจำนวน 
               จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ 

วิชาวิทยาศาสตร์  ในเรื่องของ การคิด การวิเคราะห์ การสังเกต  การสื่อสาร  
การนำไปใช้
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน                           
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ                                                                                                                                                                                                                   การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Cooking      แปลว่า   การปรุงอาหาร    
2.  Banana       แปลว่า   กล้วย  
3.  Bread          แปลว่า   ขนมปัง
4.  Sugar          แปลว่า   น้ำตาล
5.  Fried            แปลว่า   ทอด


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด