วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                           - อาจารย์ให้นักศึกษาคัดไทย  ก - ฮ


                    - อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยกันถึงคุณสมบัติของอากาศว่า อากาศมีตัวตนต้องการพื้นที่และอากาศก็มีน้ำหนัก จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ทำของเล่นเกี่ยวกับอากาศนำเสนอถึงหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของของเล่นชิ้นนั้นๆ


                    - จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่เหลือนำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ของตน
ดิฉันนำเสนอของเล่น "เหวี่ยงมหาสนุก"


เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของตนเอง 


ของเล่นทั้งหมด


                       - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปโครงร่างจากมือของตนเองและลากเส้นโค้งเฉพาะบริเวณข้างในของมือโดยใช้สี 2 สีในการลากเส้น ภาพที่ออกมาเราจะเห็นว่าบริเวณมือนูนขึ้นมาจากเดิม



                   - อาจารย์ให้นักศึกษาดูการพุ่งของน้ำพุ ในเรื่องของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำหากยิ่งต่ำลงนำพุจะยิ่งพุ่งสูงขึ้น



                   - อาจารย์ให้นักศึกษาดูการเทน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้วยกด้านหนึ่งสูงขึ้น เราจะเห็นได้ว่าน้ำก็จะไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ



                   - อาจารย์แจกกระดาษ A4 1 แผ่น พับเป็น 4 ส่วนและแบ่งให้นักศึกษาคนละ 1 ส่วน จากนั้นให้นักศึกษาพับอีก 2 ครั้ง ตัดเป็นรูปหัวใจและคลี่ออก ระบายสีลงบนวงกลมตรงกลาง พับกลีบเข้าด้านใน จากนั้นนำไปวางไว้บนน้ำ กลีบของดอกไม้จะค่อยๆบานออกมาทีละเล็กทีละน้อยจนบานเต็มที่ ซึ่งของเพื่อนบางคนก็จะบานช้าบานเร็วแตกต่างกันออกไป







                  - แต่ละกลุ่มนำเสนอของเล่นที่กลุ่มตนได้ประดิษฐ์มา
กลุ่มที่ 1 กล่องบ้านผีสิง
               โดยให้มองผ่านรูที่อยู่ด้านข้างของกล่อง ภายในกล่องจะมีตัวการ์ตูนต่างๆและไฟฉาย ซึ่งแสงจากไฟฉายจะไปกระทบแผ่นซีดีและสะท้อนเข้าตาเราจึงทำให้เราสามารถมองเห็นภายในกล่องได้


กลุ่มที่ 2 กล้องเพอริสโคป 
               โดยเราสามารถมองกล้องจากด้านล่าง เราจะเห็นภายนอกได้ผ่านกระจกที่อยู่ข้างใน 2 บานที่ช่วยสะท้อน


กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อนภาพ
               เมื่อมองผ่านรูด้านบนของกล้อง เราจะเห็นภาพข้างในมีหลายๆภาพและสามารถขยับได้จากการที่เราหมุนกล้อง

กลุ่มที่ 4 เบ็ดตกปลา 
               แม่หล็กขั้วเหมือนกันจะผลักกัน แม่เหล็กขั้วต่างจะดูดกัน


กลุ่มที่ 5 ไฟฉายมหาสนุก
               เมื่อนำไฟฉายไปส่องผ่านสีต่างๆแสงก็จะออกมาเป็นสีนั้นๆ


กลุ่มที่ 6 ลานลูกกลิ้ง
               เมื่อวางลูกแก้วจากด้านบนลูกแก้วจะกลิ้งลงมาสู่ด้านล่าง


ผลงาน "ภาพขยับ" ของดิฉัน



ผลงาน "ภาพหมุน" ของดิฉัน



 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Magnet      แปลว่า   แม่เหล็ก    
2.  Anode        แปลว่า   ขั้วบวก   
3. Cathode     แปลว่า    ขั้วลบ 
4. Push           แปลว่า    ผลัก
5. Light            แปลว่า   แสง  

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 13  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์ให้นักศึกษาคัดไทย  ก - ฮ


                        - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนดูของเล่นทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นอาจารย์และนักศึกษาร่วมสนทนา พูดคุยเกี่ยวกับของเล่นว่าของเล่นแต่ละชิ้นมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร


                       -  เข้าสู่เรื่อง "มาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย"
โดยอาจารย์สอบถามนักศึกษาว่า เมื่อนักศึกษานึกถึงคำว่ามาตรฐานนักศึกษานึกถึงอะไรบ้าง?  ตัวอย่างคำตอบของนักศึกษา เช่น การวัด , การประเมิน , การตรวจสอบ  เป็นต้น





                      - อาจารย์ให้นักศึกษาดูกระจก 2 บานที่ตั้งทำมุมแหลมกัน โดยอาจารย์นำรูปภาพไปวางไว้ตรงกลางระหว่างกระจก 2 บาน เมื่อกระจกส่องรูปและสะท้อนกลับจะเห็นว่าจำนวนของที่สะท้อนจากกระจก เมื่อเราทำมุมกระจกแคบลงของที่อยู่ตรงกลางจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากเดิม


                     - อาจารย์ให้นักศึกษาดู " ภาพขยับ " คือเมื่อเราเปิดอีกหน้าหนึ่งรายละเอียดของรูปภาพจะเปลี่ยนไปทำให้เราเห็นว่าภาพนั้นสามารถขยับได้



                  - อาจารย์ให้นักศึกษาดู " ภาพหมุน " คือ มีรูปภาพ 2 รูปอยู่ด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อเราหมุนภาพนั้น เราจะเห็นว่าภาพนั้นเป็นรูปภาพเดียวกันหรืออยู่บนเฟรมเดียวกัน



                       - อาจารย์ให้นักศึกษาดู " แผ่นสี " คือ มีแผ่นสีอยู่ 2 แผ่นสีแดงและสีเขียว เมื่อเราวางแผ่นสีทั้ง 2 แผ่นซ้อนกันแผ่นสีจะเกิดสีใหม่ คือสีน้ำเงิน




                      - อาจารย์ให้นักศึกษาดูตัวอย่างแผ่นสีแบบอื่นๆ



 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Standard   แปลว่า   มาตรฐาน 
2.  Reflect   แปลว่า   สะท้อน  
3.  Shifting   แปลว่า   ขยับ    
4.  Rotate   แปลว่า   หมุน  
5.  Corner   แปลว่า   มุม


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 6  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.



เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปรวมตัวกันที่ห้องสมุด ชั้น 8 ห้องวิทยมัลติมีเดีย เพื่อรับชมวีดีโอเรื่อง"วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก ชุดอากาศมหัศจรรย์"




              ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้ 
              โดยรอบๆตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์หรือพืชก็ต้องใช้อากาศในการหายใจ อากาศสามารถอยู่ได้ทุกที่ถึงแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นแต่ก็มีตัวตนอยู่จริงๆ ถึงแม่ว่าอากาศจะไม่มีขนาดหรือรูปร่าง แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ในทุกๆพื้นที่        

การทดลองเกี่ยวกับเรื่องของอากาศ


     
             การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
            เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย

                  - นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตนเองได้ประดิษฐ์มาทีละคน


ของเล่นของดิฉัน (เหวี่ยงมหาสนุก)


วิธีการเล่น
             เหวี่ยงให้ลูกปัดเข้าไปอยู่ด้านในของกรวย
หลักการทางวิทยาศาสตร์
              แรง (Force) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุ เช่น เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เปลี่ยนขนาดของอัตราเร็ว หรือเปลี่ยนขนาด รูปร่างของวัตถุ
 1. ชนิดของแรง 
1.1 แรงย่อย คือ แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงลัพธ์
1.2 แรงลัพธ์ คือ แรงรวมซึ่งเป็นผลรวมของแรงย่อย ซึ่งจะต้องเป็นการรวมกันแบบปริมาณเวกเตอร์
1.3 แรงขนาน คือ แรงที่ที่มีทิศทางขนานกัน ซึ่งอาจกระทำที่จุดเดียวกันหรือต่างจุดกันก็ได้ มีอยู่ ชนิด
               - แรงขนานพวกเดียวกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางไปทางเดียวกัน
               - แรงขนานต่างพวกกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางตรงข้ามกัน
1.4 แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุนของ เรียกว่า โมเมนต์ เช่น การปิด-เปิด ประตูหน้าต่าง
1.5 แรงคู่ควบ คือ แรงขนานต่างพวกกันคู่หนึ่งที่มีขนาดเท่ากัน แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ และวัตถุที่ถูกแรงคู่ควบกระทำ คู่กระทำ จะไม่อยู่นิ่งแต่จะเกิดแรงหมุน
1.6 แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด
1.7 แรงสู่ศูนย์กลาง หมายถึง แรงที่มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลมอันหนึ่งๆ เสมอ
1.8 แรงต้าน คือ แรงที่มีทิศทางต่อต้านการเคลื่อนที่หรือทิศทางตรงข้ามกับแรงที่พยายามจะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ เช่น แรงต้านของอากาศ แรงเสียดทาน
1.9 แรงโน้มถ่วงของโลก คือ แรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำกับมวลของวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
               - น้ำหนักของวัตถุ เกิดจากความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกมากกระทำต่อวัตถุ
1.10 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
               - แรงกิริยา 
คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่จุดจุดหนึ่ง อาจเป็นแรงเพียงแรงเดียวหรือแรงลัพธ์ของแรงย่อยก็ได้
              - แรงปฏิกิริยา 
คือ แรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกัน โดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่ทิศทางของแรงทั้งสองจะตรงข้ามกัน
           
2. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยากับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 
2.1 วัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยา เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุตามแรงที่กระทำ เช่น การขว้างลูกหินออกไป
2.2 วัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุเนื่องจากมีแรงขับดันวัตถุให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น การเคลื่อนที่ของจรวด

                     - อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูการจัดนิทรรศการของรุ่นพี่ปี 5 



  
 คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.  Air  แปลว่า  อากาศ
2. Wind  แปลว่า  ลม
3. Movement  แปลว่า  การเคลื่อนที่  
4. Low Pressure  แปลว่า  ความกดอากาศต่ำ
5. High Pressure แปลว่า  ความกดอากาศสูง 


ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน
                        - ทักษะการมีเหตุและผล
การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด