การบันทึกครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนสรุปความรู้ที่ได้จาการใบความรู้
เรื่อง "รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย"
- คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพ.ศ.2546
เด็กอายุ 3 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·
รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·
เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·
กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
·
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·
ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·
เล่นสมมติได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·
บอกชื่อของตนเองได้
·
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
เด็กอายุ 4 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
พัฒนาการด้านสังคม
·
แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
ไปห้องส้วมได้เอง
·
เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
·
แบ่งของให้คนอื่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
จำแนกสิ่งต่าง ๆ
ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·
รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·
ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
·
ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·
เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·
พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้
ทำความเคารพ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส
รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·
บอกชื่อ นามสกุล
และอายุของตนเองได้
·
พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
พาพลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
ก่อนวางเงื่อนไข
ขณะวางเงื่อนไข
หลังจากวางเงื่อนไข
การ์ตูน (การทดลองของพาฟลอฟ)
- หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไป
ตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก คือ จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก คือ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออกและวาจา
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
อย่างมีความสุขกิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์
กับครอบครัวและชุมชน
- คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Comprehend แปลว่า ความเข้าใจ
2. Analysis แปลว่า การวิเคราะห์
3. Synthesis แปลว่า การสังเคราะห์
4. Evaluation แปลว่า การประเมินค่า
5. Continuity แปลว่า ความต่อเนื่อง
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
การประยุกย์ใช้
- นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม
- นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์
- ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น