การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559
(ชดเชย)
วันอังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind mapping ในหัวข้อเรื่อง"การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความรู้เบื้องต้นของแต่ละคนเกี่ยวกับรายวิชานี้
- อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสนทนา อภิปรายความรู้ทั่วไปของ
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- องค์ประกอบของคำว่า"วิทยาศาสตร์" มีดังต่อไปนี้ การสังเกต / การวิเคราะห์ / เหตุและผล /
การจำแนกแยกแยะ / สิ่งต่างๆรอบตัวเรา / การทดลอง เป็นต้น
- องค์ประกอบของการทดลอง มีดังต่อไปนี้ ปัญหา / การตั้งสมมติฐาน / การสังเกต / การเก็บรวบรวมข้อมูล / ตรวจสอบกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ / สรุปองค์ความรู้ / ร่วมสนทนาอภิปราย เป็นต้น
- วิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบๆตัวเรา มีดังต่อไปนี้ พลังงานลม / พลังงานจากแสงอาทิตย์ /
พลังงานน้ำ / แรงโน้มถ่วงของโลก / ความสมดุล / แรงดัน เป็นต้น
พลังงานน้ำ / แรงโน้มถ่วงของโลก / ความสมดุล / แรงดัน เป็นต้น
- สาระที่ควรเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้
1.)เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆและวิธีรักษาร่างกายให้สะอาดปลอดภัยมีสุขอนามัยที่ดีเรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่นตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นความรู้สึกและแสดงมารยาทที่ดี
2.)เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราว/ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวสถานศึกษาชุมชนรวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
3)ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ
4)สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
- สรุปนิยามของคำว่า"วิทยาศาสตร์" หมายถึง ทักษะกระบวนการในการศึกษาสิ่งต่างๆ
รอบตัวซึ่งเป็นการศึกษาสืบค้นหรือแสวงหาโดยใช้เหตุและผลต้องอาศัยการสังเกตการทดลอง
เพื่อค้นหาความจริงเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
รอบตัวซึ่งเป็นการศึกษาสืบค้นหรือแสวงหาโดยใช้เหตุและผลต้องอาศัยการสังเกตการทดลอง
เพื่อค้นหาความจริงเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1.ระบบนิเวศความสมดุล เพราะเมื่อขาดความสมดุลแล้วนั้นก็จะเกิดผลกระทบต่างๆ
2.การเปลี่ยนแปลง มลภาวะ , ธารน้ำแข็ง , การลุกล้ำที่อยู่อาศัย เป็นต้น
3.ความแตกต่าง สิ่งต่างๆล้วนมีความแตกต่างกัน
4.การปรับตัว สิ่งต่างๆล้วนต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
5.การพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งต่างๆล้วนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
- เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.การอยากรู้อยากเห็น เด็กจะเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็ต่อเมื่อครูไม่ตีกรอบความรู้ของเด็ก
2.ความเพียรพยายาม การค้นหา , การทำแล้วทำอีก
3.ความซื้อสัตย์ ต่อผลการทดลอง
4.ความเป็นระเบียบ รอบคอบ
5.ความใจกว้าง เมื่อได้ผลการทดลองที่สำเร็จแล้วนำมาเผยแพร่
- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์สามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้และวิทยาศาสตร์ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์
- ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับมนุษย์เรา
- วิทยาศาสตร์อาศัยทักษะ ด้านคณิตศาสตร์และภาษา ประกอบด้วย การลงความคิดเห็น , การสื่อสารความหมายต่างๆ , การจำแนกแยกแยะจัดประเภท , ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลาหรือพื้นที่กับพื้นที่
- พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่จะบ่งบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
- การเล่น คือ การเรียนรู้ของเด็ก
- คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Test แปลว่า การทดลอง
2. Wind power แปลว่า พลังงานลม
3. Balance แปลว่า ความสมดุล
4. Observation แปลว่า การสังเกต
5. Pollution แปลว่า มลภาวะ
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
การประยุกย์ใช้
- นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม
- นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
- นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์
- ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น