วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

                     การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วงการบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
                     การเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ใช้เป็นสื่อกลาง เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เกิดคุณภาพตามจุดมุ่ง หมายของหลักสูตรการศึกปฐมวัย ประโยชน์ที่เด็กพึงได้รับคือการได้พัฒนา ความรู้ ประสบการณ์ เจตคติและทักษะ กระ บวนการในการแสวงหาความรู้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตสืบต่อไปในอนาคต
                    การจัดกิจกรรมเรื่องแรงโน้มถ่วง ครูจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้และสนใจโดยการคำนึงถึงจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดสิ่งสำคัญคือ เกิดความรู้ ความเข้าใจในข้อความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เด็กจะมีความเฉลียวฉลาดที่จะเห็นความสัมพันธ์ของธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว มีความคิดที่จะแก้ปัญหา เกิดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เช่น เกิดความสนใจและความชื่นชอบในสาระความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งการตระหนักรู้ถึงคุณค่าและโทษของแรงโน้มถ่วงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำความรู้ไปใช้ที่จะดูแลรักษาตนเองได้ตามวัย ส่วนสาระสำ คัญที่ครูกำหนดให้เด็กได้รับ คือ แรงโน้มถ่วงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่าง
                   นอกจากการจัดกิจกรรมหลักทั้งหกตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้ว การจัดประสบการณ์แบบไม่เป็นทางการให้แก่เด็ก จะเกิดประโยชน์ที่เด็กจะเรียนรู้ตามสภาพจริง เช่น เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เด็กประสบกับตนเอง อาจจะวิ่งหกล้ม ทำแก้วพลัดหล่น ขว้างปาลูกบอลเล่นกระดอนไปแล้วตกลงพื้นดิน การเดินลงบันไดง่ายกว่าการขึ้นบันได เราจะรู้สึกเหนื่อยที่เดินขึ้นบันได แตกต่างจากการเดินลงที่ถึงพื้นรวดเร็วและเหนื่อยน้อยกว่าขึ้นบันไดฯลฯ จากเหตุการณ์เหล่านั้น ครูชี้แนะให้เด็กสังเกตและร่วมคิด ร่วมสนทนา เด็กจะเข้าใจได้ไม่ยาก สิ่งสำคัญครูควรใช้ภาษาง่ายๆอธิบายบอกเล่าให้เด็กรู้ เช่น ลูกบอลหล่นลงดินเพราะโลกเรามีแรงดึงดูดไว้ เราไม่เห็นแรงนี้ แต่เรารู้สึกและเห็นจากสิ่งต่างๆได้
                  ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งในลินคอล์นเซียร์ นิวตันเป็นนักศึกษาทุนที่เรียนดีของวิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริคจ์ นิวตันได้สังเกตการหล่นของผลแอปเปิลลงสู่พื้นดิน ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่า แรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่น น่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่น และทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ส่วนดาวเคราะห์อื่นๆเคลื่อนที่ไปในอวกาศที่ไม่มีอากาศ จึงเคลื่อนที่โดยความเร็วคงที่ ไม่ฝืด มีทิศทางเป็นเส้น ตรง
สรุปวิจัย

เรื่อง  ผลของการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียนที่มีตอทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
(YOUNG CHILDREN’S SCIENCE PROCESS SKILLS LEARNING EXPERIENCING SCHOOL BOTANIC GARDEN MODEL)
ผู้วิจัย  :  ศศิธร รณะบุตร (SASITHRN RANABUT)
                                การวิจัยครั้งนี้มุงศึกษาผลของการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียนที่มีตอทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย 
เพื่อเปนแนวทางในการใชวิธีการสอนและการจัดกิจกรรมใหครูและผูที่เกี่ยวของกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยรวมทั้งสงเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยไดอยางถูกตองและเหมาะสม โดยมีลําดับขั้นตอนในการศึกษาและผลการศึกษาคนควา ดังตอไปนี้ 
ความมุงหมายของการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้ผูวิจัยไดตั้งความมุงหมายไวดังนี้ 
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ กอนและหลังการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ กอนและหลังการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน 
สมมุติฐานในการวิจัย 
              เด็กปฐมวัยหลังจากที่ไดรับการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรม
สวนพฤกษศาสตรโรงเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรแตกตางจากกอนการจัดกิจกรรม 
ขอบเขตของการวิจัย 
ประชากร 
              ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปซึ่งกําลังศึกษา
อยูชั้นอนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จํานวน 30 คน 
การเลือกกลุ่มตัวอยาง 
             กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่มีอายุ 5–6 ปซึ่งกําลังศึกษา
อยูชั้นอนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยวิธีการสุมอยางงาย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียน
ชั้นอนุบาลปที่ 3 มา 1 หองเรียน จากจํานวนหองเรียนทั้งหมด 2 หองเรียน จํานวน 30 คน
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใชในการวิจัย คือ  
 1. แผนการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน 
 2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย 
วิธีดําเนินการทดลอง 
             การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2550 เปนเวลา 8 สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาทีรวม 24 ครั้ง โดยบูรณาการในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณโดยมีขั้นตอนดังนี้ 
 1. ผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยางเปนเวลา 1 สัปดาห 
 2. ผูวิจัยทําการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย (Pretest) กอนการทดลองจากนั้นนํามาตรวจใหคะแนนตามเกณฑและเก็บคะแนนไวเปนหลักฐาน 
 3. ผูวิจัยทําการทดลองดวยแผนการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรม
สวนพฤกษศาสตรโรงเรียนที่ผูวิจัยสรางขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรูระหวางและหลังการจัดประสบการณ 
 4. หลังจากการทดลองผูวิจัยทําการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังการทดลองซึ่งใชแบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใชในการทดสอบกอนการทดลอง 
 5. นําขอมูลที่ใชไดจากการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยไป
วิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง 
การวิเคราะห์ขอมูล 
การวิเคราะห์ข้อมูลไดดําเนินการดังนี้ 
 1. หาคาเฉลี่ยและคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
 2. วิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนเฉลี่ยกอนและหลังการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียนสําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ โดยใช้คาแจกแจง t แบบ Dependent Samples
สรุปผลการวิจัย 
1. ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะสูงขึ้นกวากอนการจัดประสบการณตามแนวคิดรูปแบบกิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน 
2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ แตกตางจาก
กอนการทดลอง อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคาเฉลี่ยสูงขึ้น



วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                        - อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนสรุปความรู้ที่ได้จาการใบความรู้
เรื่อง "รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย"

- คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพ.ศ.2546

เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·        เล่นสมมติได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
เด็กอายุ  4  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
พัฒนาการด้านสังคม
·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·        แบ่งของให้คนอื่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
 พัฒนาการด้านสังคม
·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
         พาพลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข 
ก่อนวางเงื่อนไข
ขณะวางเงื่อนไข
หลังจากวางเงื่อนไข


การ์ตูน (การทดลองของพาฟลอฟ)






- หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไป
ตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก คือ จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง 
ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก คือ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออกและวาจา
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
               พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
อย่างมีความสุขกิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์
กับครอบครัวและชุมชน
  -  คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Comprehend  แปลว่า ความเข้าใจ
2. Analysis  แปลว่า การวิเคราะห์
3. Synthesis  แปลว่า การสังเคราะห์
4. Evaluation  แปลว่า การประเมินค่า
5. Continuity  แปลว่า ความต่อเนื่อง

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน

การประยุกย์ใช้
                        นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด




การบันทึกครั้งที่ 2 
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559
(ชดเชย)
วันอังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind mapping ในหัวข้อเรื่อง"การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความรู้เบื้องต้นของแต่ละคนเกี่ยวกับรายวิชานี้


                          - อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสนทนา อภิปรายความรู้ทั่วไปของ
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- องค์ประกอบของคำว่า"วิทยาศาสตร์" มีดังต่อไปนี้ การสังเกต / การวิเคราะห์ / เหตุและผล /
 การจำแนกแยกแยะ / สิ่งต่างๆรอบตัวเรา / การทดลอง เป็นต้น
องค์ประกอบของการทดลอง มีดังต่อไปนี้ ปัญหา / การตั้งสมมติฐาน / การสังเกต / การเก็บรวบรวมข้อมูล / ตรวจสอบกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ / สรุปองค์ความรู้ / ร่วมสนทนาอภิปราย เป็นต้น
- วิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบๆตัวเรา มีดังต่อไปนี้ พลังงานลม / พลังงานจากแสงอาทิตย์ / 
พลังงานน้ำ / แรงโน้มถ่วงของโลก / ความสมดุล / แรงดัน เป็นต้น
สาระที่ควรเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้ 
1.)เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆและวิธีรักษาร่างกายให้สะอาดปลอดภัยมีสุขอนามัยที่ดีเรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่นตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นความรู้สึกและแสดงมารยาทที่ดี
2.)เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราว/ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวสถานศึกษาชุมชนรวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
3)ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ
4)สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
- สรุปนิยามของคำว่า"วิทยาศาสตร์" หมายถึง ทักษะกระบวนการในการศึกษาสิ่งต่างๆ
รอบตัวซึ่งเป็นการศึกษาสืบค้นหรือแสวงหาโดยใช้เหตุและผลต้องอาศัยการสังเกตการทดลอง
เพื่อค้นหาความจริงเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 1.ระบบนิเวศความสมดุล เพราะเมื่อขาดความสมดุลแล้วนั้นก็จะเกิดผลกระทบต่างๆ
2.การเปลี่ยนแปลง มลภาวะ , ธารน้ำแข็ง , การลุกล้ำที่อยู่อาศัย เป็นต้น
3.ความแตกต่าง สิ่งต่างๆล้วนมีความแตกต่างกัน
4.การปรับตัว สิ่งต่างๆล้วนต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
5.การพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งต่างๆล้วนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
- เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 
1.การอยากรู้อยากเห็น เด็กจะเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็ต่อเมื่อครูไม่ตีกรอบความรู้ของเด็ก
2.ความเพียรพยายาม การค้นหา , การทำแล้วทำอีก
3.ความซื้อสัตย์ ต่อผลการทดลอง
4.ความเป็นระเบียบ รอบคอบ
5.ความใจกว้าง เมื่อได้ผลการทดลองที่สำเร็จแล้วนำมาเผยแพร่
- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์สามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้และวิทยาศาสตร์ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์
- ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับมนุษย์เรา
- วิทยาศาสตร์อาศัยทักษะ ด้านคณิตศาสตร์และภาษา ประกอบด้วย การลงความคิดเห็น , การสื่อสารความหมายต่างๆ , การจำแนกแยกแยะจัดประเภท , ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเวลาหรือพื้นที่กับพื้นที่
- พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่จะบ่งบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
- การเล่น คือ การเรียนรู้ของเด็ก
                               -  คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. Test  แปลว่า การทดลอง
2. Wind power  แปลว่า พลังงานลม
3. Balance  แปลว่า ความสมดุล
4. Observation  แปลว่า การสังเกต
5. Pollution  แปลว่า มลภาวะ

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน


การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1 
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559
(ชดเชย)
วันอังคาร ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                        - อาจารย์ชี้แจงและแนะแนวการเรียนการสอนของรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                      - อาจารย์และนักศึกษาร่วมสนทนาพูดคุยกันถึงระเบียบและข้อตกลงในชั้นเรียน
                      - อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสำหรับสะสม
ผลงานของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                      - คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในครั้งนี้
1. science  แปลว่า วิทยาศาสตร์
2. experiences  แปลว่า ประสบการณ์
3. management  แปลว่า การจัดการ
4. Early Childhood  แปลว่า ปฐมวัย
5. Learning by doing  แปลว่า การเรียนรู้โดยการลงมือทำ

ทักษะที่ได้รับ
                        - ทักษะการคิด                     
                        - ทักษะการวิเคราะห์
                        - ทักษะการวางแผน

การประยุกย์ใช้
                        - นำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม 
                        - นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
                        - นำไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
                         - อากาศเย็น แสงส่องเข้ามาในห้องเรียนพอสมควร

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง พูดเสียงดังฟังชัด